หน้ารวมข่าว อุบัติเหตุ อาชญากรรม การเมือง เศรษฐกิจ บันเทิง การศึกษาและเยาวชน สิ่งแวดล้อม ประชาสัมพันธ์ ทั่วไป
 
"ส่งกลับไปตาย" ไทยเตรียมดันผู้ลี้ภัยชาวเมียนม่า 610 คนที่สวนผึ้ง กลับภูมิลำเนา แต่สถานการณ์ยังดุเดือด

เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2567 ภาคีเครือข่ายองค์กรที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน-สถานะบุคคลและผู้ลี้ภัย ซึ่งประกอบด้วย เครือข่ายปฏิรูปการโยกย้ายถิ่นฐาน (คปฐ.) เครือข่ายประชากรข้ามชาติ (MWG) เครือข่ายสิทธิผู้ลี้ภัยและคนไร้รัฐ (CRSP) และ เครือข่ายเพื่อผู้ลี้ภัยชาวเมียนมา (MRN) ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลไทยยุติการผลักดันผู้ลี้ภัยชาวเมียนม่า กลับไปสู่อันตรายอีกครั้ง หลังได้ลี้ภัยจากการสู้รับในประเทศ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ เข้ามาอยู๋กับญาติที่ ศูนย์พักพิงชั่วคราวบ้านถ้ำหิน อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี

จนกระทั่งในระยะนี้ ได้มีการสู้รบบริเวณ บ้านบ้องตี้บน ต.บ้องตี้ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ส่งผลให้ มีผู้ลี้ภัยเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยกระจายกันอยู่กับเครือญาติในชุมชนฝั่งไทย รวมถึงในศูนย์อพยพด้วย

โดยในรายงานระบุว่า ทางการไทยได้ผลักดันผู้ลี้ภัยกลับไปยังประเทศเมียนม่าแล้วบางส่วน โดยผู้ลี้ภัยกลุ่มดังกล่าว เนื่องจากสถานการณ์ยังไม่สงบผู้หนีภัยยังคงหลบซ่อนอยู่ตามแนวชายแดน เนื่องจากที่พักอาศัยถูกเผาทำลายไปมาก และยังไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้ โดยส่งผลกระทบต่อกลุ่มเปราะบางมากที่สุด เช่น เด็ก ผู้หญิง คนท้อง และผู้ป่วย

ทั้งนี้ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก กำลังถูกเจ้าหน้าที่ หน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินการผลักดันผู้หนีภัยความไม่สงบ จำนวน 610 คน กลับประเทศเมียนมาโดยไม่สมัครใจ แม้ว่าจะได้มีการประสานกับสหภาพแห่งชาติกระเหรี่ยง (เคเอ็นยู) เพื่อเตรียมพื้นที่รองรับไว้ในฝั่งเมียนมา ซึ่งมีระยะห่างจากฝั่งไทย 30 กิโลเมตรก็ตามโดยได้มีการส่งผู้หนีภัยชุดแรกรวม 35 คน ไปเตรียมพื้นที่ในหมู่บ้านแล้ว เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2567 และเตรียมเดินหน้าบังคับส่งกลับอีกจำนวน 610 คน เป็นชุดถัดไป

“มีความกังวลเป็นอย่างยิ่งต่อการดำเนินการให้ความช่วยเหลือและการประเมินความปลอดภัยเพื่อการส่ง ผู้หนีภัยกลับคืนภูมิลำเนาในประเทศเมียนมาภายใต้สถานการณ์ที่ยังแนวโน้มอาจเกิดความไม่สงบได้ทุกเวลา และการดำเนินการผลักดันที่ไม่ได้มีความประเมินปลอดภัยที่เป็นกลาง ไม่ได้รับความยินยอมจากผู้หนีภัยอาจเป็นการละเมิดหลักการไม่ส่งกลับไปสู่อันตราย (principle of non-refoulement) ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศที่ทุกประเทศต้องเคารพ”แถลงการณ์ระบุ

ทั้งนี้ไม่ส่งกลับไปสู่อันตราย ได้ห้ามรัฐในการปฏิเสธการเข้าบริเวณพรมแดน การดักจับ และการส่งกลับของบุคคลที่เสี่ยงจะเผชิญอันตรายและการประหัตประหาร รวมถึงเป็นการละเมิดพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการซ้อมทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 มาตรา 13 ระบุไว้ว่าห้ามมิให้หน่วยงานรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐขับไล่ ส่งกลับ หรือส่งบุคคล เป็นผู้ร้ายข้ามแดนไปยังอีกรัฐหนึ่ง หากมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลนั้น จะตกไปอยู่ในอันตรายที่จะถูกกระทำทรมาน ถูกกระทำการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือ ถูกกระทำให้สูญหาย

แถลงการณ์ได้ระบุข้อเรียกร้องว่า

1.ขอให้รัฐบาลไทยยุติการดำเนินการส่งกลับผู้หนีภัยความไม่สงบชาวเมียนมาโดยเฉพาะในพื้นที่ จ.ราชบุรีและ จ.กาญจนบุรีทันที เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแนวทางการบริหารจัดการของ สมช.

2. ขอให้สมช. กระทรวงยุติธรรม และคณะกรรมการตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการซ้อมทรมานและการกระทำให้สูญหาย พ.ศ. 2565 เร่งกำหนดระเบียบ และแนวปฏิบัติตามมาตรา 13 เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้รับทราบ และดำเนินการต่อไป

3. ขอให้รัฐบาลไทยเร่งรัดจัดตั้งคณะทำงานระดับชาติ และกลไกดูแลคัดกรองกลุ่มผู้หนีภัยความไม่สงบชาวเมียนมาในระดับพื้นที่และจัดเตรียมแผนการให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมตามแนวทางการบริหารจัดการผู้หนีภัยความไม่สงบชาวเมียนมาตามหลักการที่ประชุมคณะกรรมการเฉพาะกิจฯได้ให้ไว้เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567

4. ขอให้รัฐบาลไทยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กในการให้การปกป้อง และคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานสำหรับเด็ก โดยเฉพาะเด็กที่เดินทางมาโดยลำพังและเด็กที่พัดพรากจากครอบครัว

อ่านให้คุณฟัง
ราชบุรีเจ็ดหมื่น ส่งข้อมูล - ข่าวสาร - ประชาสัมพันธ์ ได้ที่ rb70000rb@gmail.com